
ผลงานติดตั้งฉนวนกันความร้อน,พ่นโฟมกันความร้อน,พ่นโฟมกันเสียง รวมทั้งในและต่างประเทศ
ติดต่อ สอบถามทีมงาน ฉนวนกันความร้อน,ฉนวนป้องกันความร้อน,พ่นโฟมกันความร้อน,และผลิตภัณฑ์ ของ Trison เลือกตามช่องทางที่สะดวกลูกค้า

Line @ ทักแชท ทาง facebook เพื่อสอบถามข้อมูล กับเจ้าหน้าที่ รอให้คำปรึกษาท่านอยู่
ติดต่อ ฉนวนกันความร้อน พ่นโฟมกันความร้อน บริษัท ไตรซัน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด Trison development co.,ltd |
ที่อยู่ |
83/42 หมู่6 ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140 |
โทร |
02-903-0507- 8 |
Fax |
02-903-0503 |
|
Thailand
คุณธีรเดช: 081-454-8165
คุณพิชัย: 081-634-9181
คุณศรีวรรณ : 081-281-7763
คุณเชาวณี : 092-269-8964
.jpg)
"ตัวแทนจำหน่าย"
เวียงจันทน์ สปป.ลาว
บ้านโพนสีนวน ถ.โพนสีนวน เมืองสีสัดตะนาก
คุณไล: 020 5551 7063
คุณโด่ง: 020 5511 1767
คุณพิชัย: 020 5636 4549
|
Email: |
trisonAsia@gmail.com |
|

|
.jpg)
ฉนวนกันความร้อนและความหมายของฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อนโดยทั่วไปหมายถึง วัตถุหรือวัสดุที่มีความสามารถในการสกัดกั้นความร้อนไม่ให้ส่งผ่านจากด้านใดด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งได้ง่าย การส่งผ่านความร้อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งของวัสดุใดๆ หรือการถ่ายเทความร้อน ( Heat Transfer ) ระหว่างวัตถุสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออุณหภูมิของวัตถุทั้งสองมีความแตกต่างกัน ทั้งทางกายภาพและฟิสิกส์ ซึ่งลักษณะการถ่ายเทความร้อนดังกล่าวนั้นมี 3 วิธี โดยอาจเกิดขึ้นจากวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายๆ วิธีพร้อมกันหรือผสมผสานกันได้แก่
- การนำความร้อน ( Conduction ) คือ ปรากฏการณ์ที่พลังงานความร้อนถ่ายเทภายในวัตถุหนึ่ง ๆ หรือระหว่างวัตถุสองชิ้นที่สัมผัสกัน โดยมีทิศทางของการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยที่ตัวกลางไม่มีการเคลื่อนที่
- การพาความร้อน ( convection ) คือ การถ่ายโอนความร้อนที่เกิดจากที่สารใดสารหนึ่ง ได้รับความร้อนแล้ว ความหนาแน่นของอนุภาคน้อยลงขยายตัวลอยตัวสูงขึ้น พร้อมทั้งพาความร้อนไปด้วย ขณะเดียวกันส่วนอื่นที่ยังไม่ได้รับความร้อนยังมีความหนาแน่นของอนุภาคมากกว่า จะเคลื่อนมาแทนที่เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนสสารนั้นได้รับความร้อนทั่วกันจึงเรียกว่า "การพาความร้อน"
- การแผ่รังสีความร้อน ( Radiation) คือ การถ่ายโอนความร้อนที่เกิดจากแหล่งความร้อนหนึ่งไปยังสารที่มีอุณภูมิตํ่ากว่า โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เรียกว่า การแผ่รังสีความร้อน
การเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนในแต่ละประเภท
ประเภทของฉนวนกันความร้อนสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ใช้หรือกำหนดขึ้นเพื่อสะดวกต่อการนำไปอ้างอิงถึง วิธีหนึ่งที่แบ่งฉนวนกันความร้อน ( Thermal Insulation ) ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.) ฉนวนมวลสาร 2. ) ฉนวนสะท้อนความร้อน นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งประเภทของฉนวนกันความร้อนตามชนิดของวัสดุพื้นฐาน ( Basic Materials ) ที่ใช้ในการผลิตได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. วัสดุประเภทใยแร่ ( Mineral Fibrous Material ) เช่น ใยหิน ( Rock Wool )ขี้โลหะที่ได้จาการถลุงโลหะ ( Slag )ใยแก้ว (Glass Fiber or Glass Wool )
2. วัสดุประเภทเส้นใยธรรมชาติ ( Organic Fibrous Material ) เช่นไม้ ( Wood ) ชานอ้อย ( Cane ) ฝ้าย ( Cotton ) ขนสัตว์ ( Hair ) เส้นใยเซลลูโลส ( Cellulose ) ใยสังเคราะห์ ( Synthetic Fiber )
3. วัสดุประเภทเซลล์ธรรมชาติ ( Organic Cellular Material ) เช่นไม้ก๊อก ( Cork ) โฟมยาง ( Foamed Rubber ) โพลีสไตรีน ( Polystyrene ) โพลียูรีเทน ( Polyurethane )
4. วัสดุประเภทเซลล์แร่ ( Mineral Cellular Material ) เช่น แคลเซียมซิลิเกต ( Calcium Silicate )เพอร์ไลท์ ( Perlite )เวอร์มิคูไลท์ ( Vermiculite) โฟมคอนกรีต ( Foamed Concrete )
ประเภทของฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
ฉนวนโฟม (Polyurethane foam) เป็นฉนวนกันความร้อน/เก็บความเย็นได้ดีสำหรับอาคารสถานที่ทั่วไป
ฉนวนเซรามิคโค้ตติ้ง เป็นสีเซรามิคลักษณะของเหลวใช้ทาหรือพ่นช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี
ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว
ฉนวนกันความร้อนฟอยล์ (Foil)
ในการเลือกใช้ ฉนวนกันความร้อนให้ถูกต้องจำเป็นต้องเข้าใจถึงกลไกที่เกิดขึ้นภายในฉนวนกันความร้อน ประเภทต่างๆ ก่อน ฉนวนกันความร้อนโดยทั่วไปแล้ว เป็นวัสดุที่ประกอบด้วยช่องโพรงเล็กๆ ( Close cell ) และช่องอากาศภายในวัสดุที่มีลักษณะเป็นแบบปิดทึบ ( Totally Enclosed ) เรียกว่า ฉนวนมวลสาร ( Mass Insulation ) นั่นเอง ช่องเล็กๆ เหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากเกล็ด ( Flakes ) เส้นใย ( Fibers ) ปมแข็ง ( Nodules of Solids ) หรือเซลล์ของตัววัสดุนั้นเอง ยกเว้นฉนวนสะท้อนความร้อน ( Reflective Insulation ) ดังนั้นการเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบใดนั้น ต้องปรึกษาผู้รู้หรือกูรูมืออาชีพในงานที่เกี่ยวข้องกับฉนวนกันความร้อนก่อน เพื่อวิเคราะห์ถึงภาพโดยรวม ซึ่งจะทำให้การออกแบบฉนวนกันความร้อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ ประการสำคัญผลประโยชน์ต่างๆที่ได้รับจะตกอยู่กับเจ้าของอาคารสถานที่หรือโรงงานที่ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยตรง คุ้มค่ากับการลงทุนติดตั้ง ได้รับประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยตามที่ต้องการ
คุณสมบัติที่ดีของวัสดุความเป็นฉนวนกันความร้อน
กรณีที่ให้ความสำคัญกับความสามารถในการเป็นฉนวนกันความร้อนของวัสดุนั้น ก่อนที่จะทราบถึงแนวทางในการเลือกใช้ ฉนวนกันความร้อนนั้น ควรมีความเข้าใจกับความหมายของคำว่า "วัสดุฉนวนกันความร้อน" ก่อน ซึ่งวัสดุฉนวนในความหมายที่เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือเลือกวัสดุที่มีความสามารถในการป้องกันความร้อน หรือความเย็นไม่ให้ผ่านจากด้านหนึ่งสู่อีกด้านหนึ่งของวัสดุได้โดยง่าย ซึ่งการที่ความร้อนจะผ่านเข้าได้มากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับวัสดุชนิดนั้นว่า มีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนกันความร้อนเพียงใด ซึ่งคุณสมบัติของฉนวนที่ดีนั้นสามารถพิจารณาได้จากความสามารถในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
- การต้านทานความร้อนสูง (Resisttivity - "R")
- การนำความร้อนที่ต่ำ (Conductivity - "K")
- ความจุความร้อนที่ต่ำ หรือไม่สะสมความร้อนในเนื้อวัสดุ (Thermal Capacity)
โดยค่าต่างๆ เหล่านี้สามารถสอบถามหรือดูจากข้อมูลที่ผู้ผลิตให้มา การเลือกใช้วัสดุฉนวนกันความร้อนที่ดีจะช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะเข้ามาภายในอาคารให้น้อยลงได้ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานในการทำความเย็นให้กับอาคาร โดยเฉพาะกับบริเวณที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศที่จะต้องสูญเสียพลังงานในการทำความเย็นในห้องเป็นจำนวนมาก แต่ถ้ามีการใช้วัสดุที่มีความเป็น ฉนวนที่ดีก็จะเป็นการช่วยในการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศได้มาก ซึ่งจะมีผลทำให้เสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่ากระแสไฟฟ้าลดลงด้วย เท่ากับเพิ่มกำไรให้กับองค์กรทางอ้อม และเป็นการช่วยชาติประหยัดพลังงานโดยตรง
เซรามิคโค้ทติ้ง ( Ceramic Coating )
ฉนวนกันความร้อนชนิดนี้มีสารประกอบหลักมาจากอนุภาคเซรามิค ซึ่งมีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนได้สูงแต่ดูดซับความร้อนต่ำ สามารถกระจายความร้อนได้เร็ว มีความยืดหยุ่นในตัวเองสูง ยึดเกาะกับพื้นผิวได้ดีจึงสามารถใช้ฉนวนเซรามิคโค้ทติ้งเคลือบภายนอกในส่วนที่ต้องการป้องกันความร้อนโดยตรงจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ เช่น ผิวนอกของหลังคา ดาดฟ้า หรือผนังอาคาร โดยทำหน้าที่สะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ออกไปก่อนที่จะกระทบผิวอาคารเป็นการช่วยลดความร้อนให้กับอาคารและความร้อนที่จะสะสมในเนื้อวัสดุเปลือกอาคารและยังช่วยลดความเสียหายของโครงสร้างที่เกิดจากการยืดหดตัวเนื่องจากความร้อน จึงช่วยยืดอายุการใช้งานของหลังคาอีกด้วย อีกทั้งยังมีความสะดวกและปลอดภัยเนื่องจากเป็นฉนวนที่ใช้ภายนอกอาคาร การบำรุงรักษาจึงทำได้ง่าย
การประยุกต์ใช้งานของเซรามิคโค้ทติ้ง
ในด้านกายภาพแล้ว เซรามิคโค้ดติ้งไม่ใช่วัสดุที่เป็นชิ้น แต่มีลักษณะกึ่งของเหลวที่ใช้ทา-พ่นทับวัสดุภายนอกอาคารซึ่งก่อนการใช้งานจะต้องทำความสะอาดพื้นผิวที่จะทา - พ่นไม่ให้มีพวกฝุ่นละออง เพราะจะทำให้การยึดเกาะกับพื้นผิวทำได้ไม่ดีนัก
ใยแก้ว ( Fiber Glass )
ลักษณะทั่วไปของใยแก้ว
ใยแก้วเป็นฉนวนกันความร้อนอีกชนิดหนึ่งที่ผลิตจากการหลอมแก้วแล้วปั่นออกมาเป็นเส้นใยสีขาว จัดอยู่ในกลุ่มฉนวนเซลล์ปิด ใยแก้วมีความหนาแน่นต่างกันตั้งแต่ 10 kg/m3 ไปถึงมากกว่า 64 kg/m3 อาจผลิตในรูปแผ่นแข็ง แบบม้วนหรือขึ้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ กันตัวเส้นใยจะถูกเคลือบไว้ด้วยตัวประสาน ( Binder ) เช่น ฟิโนสิกเรซิน ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมระหว่างเส้นใย ที่พบมากจะเป็นฟีนอลฟอร์มอัลดีไฮน์ ซึ่งจะให้สีเหลืองหลังการผลิต ตัวใยแก้วเป็นสารอนินทรีย์จึงไม่ติดไฟ แต่ตัวประสานจะติดไฟได้ จึงควรพิจารณาอุณหภูมิในการใช้งาน และการดูดซับความชื้นจะทำให้ความสามารถในการต้านทานความร้อนลดลง จึงต้องมีแผ่นมาประกบเพื่อช่วยต้านทานไอน้ำ เช่น แผ่นอลูมินั่มฟอยล์ หรือ ฟิล์มพลาสติกห่อหุ้มขณะใช้งานจริง ซึ่งต้องพิจารณาคุณภาพและคุณสมบัติการติดไฟในการเลือกใช้งานด้วยและจากการที่ขนาดของเส้นใยแก้วที่เล็กและยาวทำให้มีคุณสมบัติในการคืนรูป หรือ คืนความหนาได้ดี คุณสมบัตินี้จะช่วยในการคืนสภาพของฉนวนจากการบรรจุและการขนส่งที่มักมีการบีบอัดและสุดท้ายคือเรื่องของกลิ่นที่มาจากตัวประสานจึงควรจัดเก็บในพื้นที่เปิดโล่ง คุณสมบัติของใยแก้ว การใช้งานโดยทั่วไป จะวางฉนวนใยแก้วที่มีการหุ้มด้วยแผ่นอลูมินั่มฟอยล์เหนือฝ้าเพดาน ซึ่งเป็นพื้นที่การใช้งานโดยตรง
การประยุกต์การใช้งานของฉนวนกันความร้อนใยแก้ว
ในการเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนใยแก้วที่มีประสิทธิภาพดีให้พิจารณาจากความหนาแน่นของตัวฉนวนและยิ่งมีความหนามากยิ่งดี แต่ควรเลือกใช้ชนิดที่มีวัสดุอื่นหุ้มผิวโดยรอบ เพราะต้องป้องกันความชื้นให้แก่ฉนวนใยแก้ว ที่นิยมใช้จะเป็นอลูมินั่มฟอยล์ซึ่งฉนวนใยแก้วจะไม่มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะใช้เป็นวัสดุโครงสร้างได้ด้วยตนเอง จึงจำเป็นต้องใช้ร่วมกับวัสดุอื่น ๆ ซึ่งก็เสมือนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนให้เพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่งแต่การที่จะยืดอายุการใช้งานให้นานยิ่งขึ้น จะต้องระวังเรื่องของความชื้นที่จะทำให้ใยแก้วเสื่อมสภาพ และความชื้นที่เกิดขึ้นโดยมากจะเริ่มจากบริเวณรอยต่อที่ขาดการระมัดระวังขณะทำงาน หรือการวางฉนวนบนฝ้าเพดานที่มีการใช้ไฟแบบฝังในฝ้า ซึ่งความร้อนจากหลอดไฟก็จะทำความเสียหายได้เช่นกัน
ฉนวนโพลีสไตรีนโฟม ( Polystyrene: PS-Foam )
จัดอยู่ในกลุ่มฉนวนกันความร้อนแบบกึ่งเซลล์ปิด มี 2 ลักษณะ คือ
1. ฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีนแบบอัดรีด ( Extruded Polystyrene )
ผลิตโดยขบวนการอัดรีด ทำให้มีเซลล์ที่ละเอียดซึ่งมีอากาศผสมกับก๊าซฟลูออโรคาร์บอน ( ปัจจุบันมีการใช้ก๊าซประเภทอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงปรากฏการณ์เรือนกระจก ) อยู่ภายในทำให้มีสภาพในการนำความร้อนที่ต่ำกว่าโพลีสไตรีนแบบหล่อ มีโครงสร้างและรูปร่างที่แข็งแรงคงที่มากกว่า ทำให้สามารถทนต่อแรงกดทับและต้านทานไอน้ำได้ดี แต่ข้อเสียคือ ติดไฟได้และหากสัมผัสกับรังสีอุลตร้าไวโอเลต ( UV ) ในบรรยกาศจะมีการเสื่อมสภาพได้ จึงควรมีวัสดุปิดผิวในการใช้งาน ปัจจุบันยังคงต้องนำเข้าจากต่างประเทศจึงมีราคาค่อนข้างสูง
2. ฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีนแบบหล่อหรือขยายตัว ( Molded or Expanded Polystyrene )
เป็นสไตรีนโพลีสเมอร์ เช่นกัน แต่ผลิตโดยขบวนการหล่อหรือขยายตัว ผลก็คือเซลล์จะหยาบกว่า และมีอากาศบรรจุอยู่ภายในเมื่อเทียบกับแบบอัดรีดแล้วจะมีสภาพการนำความร้อนสูงกว่า ความหนาแน่นต่ำกว่า ต้านทานไอน้ำได้พอให้ติดไฟและก่อให้เกิดคาร์บอรมอนนอกไซด์ ( CO ) แต่มีราคาถูกกว่า มีการเสื่อมสภาพจากการสัมผัสรังสียูวีในบรรยากาศได้เช่นกัน จึงควรเลือกใช้ในโครงเคร่าปิดหรือมีแผ่นปิดผิว โดยมีการขึ้นรูปประกอบเป็นผนังมีแผ่นปิด 2 ด้าน เพื่อป้องกันรังสียูวีและใช้งานได้สะดวก ปัจจุบันมีการผลิตจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว
ฉนวนกันความร้อนโพลีเอทเธลีนโฟม ( Poleyethelene : PE-Foam)
เป็นเอทเธลีนโพลิเมอร์รีดขึ้นรูปแบบแผ่นมีฟองละเอียดของก๊าซอยู่ด้านใน จัดอยู่ในกลุ่มของฉนวนแบบเซลล์ปิดมีลักษณะอ่อนนุ่ม จึงไม่ควรใช้กับงานที่มีการกดทับ การต้านทานไอน้ำอยู่ในเกณฑ์สูง มีการเสื่อมสภาพได้จากรังสียูวี จึงควรมีแผ่นปิดผิวขณะใช้งาน หรือไม่สัมผัสกับรังสียูวีโดยตรง การเลือกใช้งานป้องกันความร้อนในระบบหลังคาในประเทศไทย ต้องพิจารณาความหนาของฉนวน ให้มีค่าการต้านทานความร้อน (R-Value) ที่เพียงพอ คือความหนาไม่น้อยกว่า 40 มม. ในการใช้ติดไต้แผ่นหลังคา ซึ่งความหนาดังกล่าวจะต้านทานการไหลผ่านของพลังงานความร้อนได้น้อย และเนื่องจากเป็นโพลีเมอร์พลาสติกประเภทหนึ่ง
อลูมินั่มฟอยล์ ( Aluminium Foil )
ลักษณะทั่วไป
อลูมินั่มฟอยล์เป็นชนิดหนึ่งของฉนวนกันความร้อนประเภทสะท้อนความร้อน และเป็นที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน โดยทั่วไปเป็นแผ่นอลูมินั่มฟอยล์ทากาวประกบกับแผ่นกระดาษคราฟมีเส้นใยเสริมแรงบางชนิดอาจมีชั้นของบิทูเมน ( Bitumen ) อยู่ด้วยซึ่งถ้ามีควรพิจารณาคุณสมบัติการติดไฟด้วย การใช้งานทั่วไปจะติดตั้งได้แผ่นหลังคา อาศัยความหนาของช่องอากาศระหว่างแผ่นหลังคาและแผ่นอลูมินั่มฟอยล์เป็นตัวลดสภาพการนำความร้อน และความมันวาวของอลูมินั่มฟอยล์เป็นตัวลดการแผ่รังสี ทำให้ความร้อนผ่านเข้าสู่อาคารได้น้อยลง ปัญหาที่พบคือฝุ่นที่มาเกาะบนผิวทำให้คุณสมบัติการต้านทานการแผ่นรังสีความร้อนลดลงด้วย
การประยุกต์การใช้งานเป็นฉนวนกันความร้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุ
อลูมินั่มฟอยล์เป็นวัสดุที่มีการใช้งานมานาน แต่โดยมากจะใช้ร่วมกับวัสดุฉนวนอื่น ๆ เช่นใยแก้ว หรือยิปซั่มบอร์ดแต่ในปัจจุบันมีผู้ผลิตให้สามารถนำมาใช้เดี่ยวได้ โดยเพิ่มชั้นความหนาและส่วนประกอบอื่น ๆเข้าไป ให้มีความเหนียวมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันการฉีกขาดได้ง่าย แต่การใช้งานให้มีประสิทธิภาพสูงนั้น จะต้องไม่ลืมนึกถึงคุณสมบัติเฉพาะของวัสดุชนิดนี้ นั่นก็คือ การสะท้อน ซึ่งการสะท้อนความร้อนจะสามารถทำได้ดีนั้นวัสดุจะต้องมันวาวและเรียบ ซึ่งหากไม่มีการดูแลรักษาปล่อยให้ฝุ่นละอองมาจับที่ผิววัสดุ หรือการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้เกิดการหย่อนหรือฉีกขาด ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนนั้นหมดไป ตัวอย่างการใช้งานและการติดตั้ง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการติดตั้งฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟมหรือโฟมกันความร้อน มีดังนี้.-
สถานที่ใดที่ควรจะติดตั้งฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟมหรือโฟมกันความร้อน?
1. ป้องกันความร้อน – ความเย็น ลดความร้อนภายในอาคารได้อย่างมาก
2. ป้องกันการรั่วซึม (Water Leaking)
3. ลดเสียงดังกั้นเสียง (Noise Inhibiting)
4. ทนกรด ทนด่าง (Acid & Base Resistant)
5. การทนไฟและไม่ลามไฟ (Fire Retardant)
6. ไม่มีสารพิษเจือปน (Non Toxic/Irritant)
7. ป้องกัน แมลง มด หนู เข้ามาอยู่อาศัย
8. น้ำหนักเบา และแข็งแรง (Light Weight & Strength)
9. ควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ (Condensation Control)
10. ติดตั้งง่าย (Easy to Install)
11. ไม่มีการยุบตัว (Does Not Pack Down)
12. รูปทรงในเชิงสถาปัตยกรรม (Architectural Shapes)
13. ประหยัดพลังงาน (Energy Saver) หรือช่วยลดค่ากระแสไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้อย่างมากนั่นเอง
- โรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โรงงานส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องการระบายความร้อน โดยเฉพาะโรงงานที่มีขนาดใหญ่ การใช้พัดลมช่วยได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในโรงงานส่วนใหญ่มาจากทั้งสิ่งแวดล้อมภายในโรงงานเองและภายนอก และความร้อนที่สำคัญประการหนึ่งก็คือความร้อนจากภายนอก(รังสีอินฟราเรดจากแสงอาทิตย์ ) ซึ่งจะมีผลทำให้อุณหภูมิภายในโรงงานเพิ่มมากขึ้น ยิ่งมีเครื่องจักรที่สร้างรังสีความร้อนภายในโรงงาน ก็ยิ่งทำให้ความร้อนภายในโรงงานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทางออกในการแก้ปัญหาลดภาวะความร้อนหรืออุณหภูมิภายในโรงงานลดลงด้วยการติดตั้งฉนวนกันร้อนหรือฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟมพ่นฉนวนป้องกันร้อน ทั้งนี้เพื่อป้องกันความร้อนให้มีอุณหภูมิโดยรวมลดลงเมื่อพ่นโฟมหลังคา-ผนังอาคารจะ ช่วยทำให้อากาศเย็นสบาย สุขภาพจิตของบุคลากรดีขึ้น ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น ลดภาวะโลกร้อนของสังคมสิ่งแวดล้อมไปด้วย
- อาคารขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด มินิมาร์ท ฯลฯ ฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟม ช่วยลดความร้อนภายในอาคารและช่วยลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าโดยรวมอย่างตรงจุดได้อย่างถาวร
- อาคารบ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัยทั่วๆไป หลายท่านอาจคิดว่าการติดตั้งฉนวนกันร้อนหรือฉนวนป้องกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟมทำได้เฉพาะอาคารที่เป็นโรงงานหรือห้างสรรพสินค้าเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟมหรือฉนวนกันร้อนสามารถติดตั้งได้ในสถานที่ต่างๆซึ่งรวมทั้งอาคารที่เป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของเราทุกคนก็สามารถพ่นโฟมหลังคาได้ เหตุเพราะมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะนอกจากป้องกันความร้อนแล้วยังช่วยป้องกันเสียงดัง เสียงรบกวนจากฝนตก ป้องกันซึม ป้องกันรั่ว อีกส่วนหนึ่ง แต่หน้าที่หลักๆ คือป้องกันความร้อนหรือลดความร้อน ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีพ่นฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทนโฟมนั่นเอง
ในการติดตั้งฉนวนกันความร้อนหรือฉนวนกันร้อนลงในวัสดุแต่ละชนิดนั้น มีวิธีการและเทคนิคที่ไม่เหมือนกัน การพ่นโฟมกันความร้อนลงบนหลังคา การพ่นใต้หลังคา การพ่นลงบนผนังห้อง ฯลฯ ดูคำแนะนำในการติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ
จะเห็นว่าประโยชน์ของการติดตั้งฉนวนกันความร้อนมีมากมาย ให้ประโยชน์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวกับผู้ใช้

ฉนวนกันความร้อน โพลียูรีเทนโฟม ( Polyurethane Foam ) |