วิธีติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนหลังคาหรือพ่นโฟมกันความร้อนบนหลังคา
วิธีติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาหรือพ่นโฟมกันความร้อนใต้หลังคา

ติดต่อ สอบถามทีมงาน เรื่องของฉนวนกันความร้อนบนหลังคา,พ่นโฟมกันความร้อนใต้หลังคา,สีกันความร้อน,และผลิตภัณฑ์ของ Trison เลือกคลิกดูตามที่สะดวกลูกค้า
.jpg)
Line @ ทักแชท ทาง facebook เพื่อสอบถามข้อมูล กับเจ้าหน้าที่ รอให้คำปรึกษาท่านอยู่
ติดต่อ ฉนวนกันความร้อน พ่นโฟมกันความร้อน บริษัท ไตรซัน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด Trison development co.,ltd |
ที่อยู่ |
83/42 หมู่6 ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140 |
โทร |
02-903-0507- 8 |
Fax |
02-903-0503 |
|
Thailand
คุณธีรเดช: 081-454-8165
คุณพิชัย: 081-634-9181
คุณศรีวรรณ : 081-281-7763
คุณเชาวณี : 092-269-8964
.jpg)
"ตัวแทนจำหน่าย"
เวียงจันทน์ สปป.ลาว
บ้านโพนสีนวน ถ.โพนสีนวน เมืองสีสัดตะนาก
คุณไล: 020 5551 7063
คุณโด่ง: 020 5511 1767
คุณพิชัย: 020 5636 4549
|
Email: |
trisonAsia@gmail.com |
|

|
.jpg)
ดูวิธีการใช้งานฉนวนกันความร้อนบนหลังคา พ่นสีกันร้อน สีกันความร้อน
คลิปเทสต์อุณหภูมิ เปรียบเทียบหลังคา ระหว่างพ่นสีกันร้อนและไม่ได้พ่นสีกันร้อน
.jpg)
วิธีการใช้งานฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ด้วยโฟมกันร้อน โฟมกันเสียง
คลิปผลงานติดตั้งฉนวนกันความร้อน,พ่นโฟมกันความร้อน,โฟมกันเสียง รวมทั้งในและต่างประเทศ
คลิปตัวอย่างคุณสมบัติของฉนวนกันร้อน โฟมกันความร้อน ข้อมูลทางเทคนิคของ พียูโฟม TRISON
ประเภทของนวนความร้อนหรือฉนวนกันความร้อนมีหลายชนิดและหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ให้เหมาะสมกับวัสดุแต่ละชนิด
แต่ในที่นี่จะแนะนำฉนวนที่ดีที่สุดที่ช่วยป้องกันความร้อนได้มากถึง 90%
คือฉนวนป้องกันความร้อน พี.ยู.โฟม ฉีดพ่นติดตั้งใต้หลังคาบ้าน อาคาร โรงงาน ได้ทุกชนิดและทุกประเภท
ผลเทสต์ประสิทธิภาพการไม่ลามไฟของฉนวนกันความร้อน,พ่นโฟมกันความร้อนของพียูโฟม TRISON
ดูวิธีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน ของทีมงาน TRISON ที่เมืองสีโคดตะบอง ประเทศลาว
ประเภทของฉนวนกันความร้อนหรือฉนวนป้องกันความร้อนที่ใช้ในปัจจุบัน
การจำแนกประเภทของฉนวนกันความร้อนหรือฉนวนป้องกันความร้อนมีหลายวิธี แล้วแต่จะยึดถือสมบัติด้านใดของวัสดุมาจำแนก เช่นการจำแนกฉนวนกันความร้อนตามโครงสร้างและหลักการทำ งานสามารถแบ่งออกเป็นจำแนกตามโครงสร้างและหลักการทำงาน6ประเภท ดังนี้
1.ฉนวนป้องกันความร้อนชั้นอากาศ (air)เป็นฉนวนที่ประกอบเป็นพื้นผิวเดียวหรือพื้นผิวหลายชั้นซึ่งมีอากาศอยู่ระหว่างชั้นของพื้นผิว ความต้านทานความร้อนจะเกิดจากชั้นของอากาศในลักษณะนำ ความร้อนหรือพาความร้อนคร่อมระหว่างชั้นอากาศ
2.ฉนวนป้องกันความร้อนแบบเซลล์ (cellular material)เป็นฉนวนที่ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ ที่ผลึกติดกับเซลล์อื่นๆ ฉนวนแบบเซลล์ล์ผลิตขึ้นจากแก้ว พลาสติก และยาง ตัวอย่างของฉนวนชนิดนี้ เช่น เซลลูลาร์กลาส(cellular glass)ยางอิลาสโตเมอร์(elastomer)แบบขยายตัว โฟมโพลิสไตรีน โฟมโพลิไอโซไซยานูเรต โฟมโพลิยูรีเทน โฟมโพลิเอทิลีนและโฟมยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์
3.ฉนวนป้องกันความร้อนแบบเส้นใย(fibrous material)เป็นฉนวนที่ประกอบด้วยเส้นใยที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กๆ จำ นวนมาก เส้นใยเหล่านี้อาจนำ มาจากวัสดุอินทรีย์ เช่น เส้นผม ใยพืชต่างๆ หรืออาจทำ จากวัสดุสังเคราะห์ เช่น ใยแก้ว ใยหิน ใยขี้โลหะ ใยอลูมินาซิลิกา แอสเบสทอส(asbestos)ใยคาร์บอน
4.ฉนวนป้องกันความร้อนแบบเกล็ด(flake material)เป็นฉนวนที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก อนุภาคหรือเกล็ดเหล่านี้อาจถูกเทเข้าไปในช่องอากาศ หรือทำ ให้เกาะตัวเข้าด้วยกัน เพื่อทำเป็นรูปทรงฉนวนที่แข็ง สามารถใช้งานเป็นฉนวนท่อ หรือใช้งานด้านอื่นๆ ในลักษณะเป็นบล็อกหรือแผ่นอัด ฉนวนแบบเกล็ดที่รู้จักกันทั่วไปคือ เพอร์ไลต์และเวอร์มิคูไลต์
5.ฉนวนป้องกันความร้อนแบบกรานูลาร์(granular material)เป็นฉนวนที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก ซึ่งเป็นโพรงหรือกลวง ซึ่งช่องกลวงเหล่านี้สามารถถ่ายเทอากาศระหว่างกันและกันได้ จึงทำ ให้แตกต่างจากฉนวนแบบเซลล์ วัสดุที่ใช้ทำ ฉนวนชนิดนี้ เช่น แมกนีเซียม แคลเซียมซิลิเคต ดินไดอะตอเมเชียส(diatomaceous earth)ไม้คอร์ก(vegetable cork)วัสดุ3ชนิดแรก ส่วนใหญ่จะใช้ฉนวนในระบบท่อทางด้านอุตสาหกรรม ส่วนไม้คอร์กจะใช้งานกับการทำ ความเย็นที่อุณหภูมิตํ่า
6.ฉนวนป้องกันความร้อนแผ่นบางผิวสะท้อนรังสี (reflective foils) เป็นฉนวนที่ประกอบด้วยแผ่นบางขนานที่มีสภาพการสะท้อนรังสีความร้อนสูง หรือสภาพการแผ่รังสีตํ่า โดยแผ่นบางเหล่านี้ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนกลับ เนื่องจากผลของการนำ ความร้อนและการพาความร้อนลดลง การประยุกต์ใช้ฉนวนแผ่นบางส่วนใหญ่จะใช้เป็นระบบมากกว่าใช้วัสดุความร้อนลดลง การประยุกต์ใช้ฉนวนแผ่นบางส่วนใหญ่จะใช้เป็นระบบมากกว่าใช้วัสดุชนิดเดียว โดยใช้งานกับวัตถุที่อุณหภูมิสูงเมื่อการถ่ายเทความร้อนชนิดแผ่รังสีความร้อน มีปริมาณมากกว่าการถ่ายเทความร้อนอีก 2 แบบคือ การนำ และการพา2 ประเภท หรืออาจมากกว่า 2 ประเภท เพื่อให้ได้สมบัติที่ต้องการ เช่น นำ วัสดุประเภทเส้นใยมารวมกับวัสดุประเภทกรานูลาร์จะช่วยเพิ่มความทนของแรงดึงของผลผลิตที่ได้
จำแนกฉนวนป้องกันความร้อนตามสารเคมีของวัสดุ
1. ประเภทสารอินทรีย์ ได้แก่ ไม้คอร์ก(cork board)
2. ประเภทสารอนินทรีย์ ได้แก่ ใยแก้ว (glass wool) ใยหิน (rock wool) แคลเซียมซิลิเคต
3. ประเภทโลหะ ได้แก่ อะลูมิเนียมฟอยล์(aluminium foil)
จำแนกฉนวนป้องกันความร้อนตามหลักฟิสิกส์
1. ประเภทเซลล์ปิด(closed cell)เช่น ฉนวนยางต่างๆ
2. ประเภทเซลล์เปิด(open cell)เช่น ใยแก้ว ใยหิน เซรามิก
3. ประเภทสะท้อนแสง(reflective)เช่น ฟิล์มกรองแสงต่างๆ และอะลูมิเนียมฟอยล์
จำแนกฉนวนป้องกันความร้อนตามอุณหภูมิของงานที่จะใช้
1. อุณหภูมิตํ่ามาก(cryogenic range)คือฉนวนที่ใช้งานระหว่างอุณหภูมิ-230Cถึง-65C
2. อุณหภูมิตํ่า (low temperature range) คือฉนวนที่ใช้งานระหว่างอุณหภูมิ -65 ํC ถึง 100 ํC
3. อุณหภูมิปานกลาง (medium temperature range) คือฉนวนที่ใช้งานระหว่าง 100 ํC ถึง 550 ํC
4. อุณหภูมิสูง (high temperature range) คือฉนวนที่ใช้งานระหว่างอุณหภูมิ 550 ํC ถึง 1,400 ํC
(R) สภาพการนำ ความร้อน (k) ความหนาแน่นของฉนวนกันความร้อน (ρ) ตาม(American Soceity for Testing and Materials: ASTM) ที่ใช้ในการทดสอบฉนวนแต่ละชนิด รวมทั้งค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบในการประยุกต์ใช้งาน
.jpg)
